นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Scientist) นามว่า Jasper de Winkel และ ทีมงานจากมหาวิทยาลัย Delft University of Technology ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้โชว์ผลงานล่าสุดเป็นอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า “Engage” ได้รับแรงบรรดาลใจมากจาก Game Boy ที่ผลิตโดยบริษัท Nintendo
โดยที่เครื่อง Engage นี้มีปุ่มและรูปร่างคล้ายเครื่อง Game Boy จาก Nintendo สมัยยุคปี 1898 แต่มีน้ำหนักน้อยกว่าถึงครึ่งหนึ่ง
แต่ว่าความเจ๋งไม่ได้อยู่แค่เรื่องน้ำหนัก เครื่อง Engage มาพร้อมกับเทคโนโลยีพลังงานไร้แบต ผู้เล่นสามารถเล่นเกมทุกเกมของ Game Boy ได้ โดยเครื่องต้องการแค่แสงอาทิตย์หรือการกดปุ่มของผู้เล่นเท่านั้น
ซึ่งแหล่งพลังงาน 2 แหล่งนี้ (แสงอาทิตย์ และ แรงกด) แทบจะเรียกได้ว่าเป็นพลังงานฟรี เราสามารถนำเครื่อง Engage ไปเล่นที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องมีถ่าน หากใครที่เกิดทันยุค Game Boy ก็คงจะจำความลำบากได้ดี หากเราต้องการพก Game Boy ติดตัวไปเที่ยวกับครอบครัว เราจำเป็นต้องพกถ่านไปด้วย เพราะเครื่อง Game Boy ถ้าเล่นหนักๆ ก็มีชีวิตอยู่ได้ไม่ถึง 15 ชั่วโมง
โดยเทคโนโลยีดังกล่าวเรียกว่า Intermittent computing หรือ การประมวณผลแบบไม่ต่อเนื่อง สาเหตุที่ใช้คำว่า “ไม่ต่อเนื่อง” ก็เพราะว่าหากผู้เล่นไม่ได้กดปุ่มหรือนำเครื่อง Engage ไปโดนแสงตลอดเวลา จะทำให้เกมดับลงได้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องดี เพราะหากสมมติเราเล่นเกม Tetris หรือ Gozilla แล้วไม่ได้เซฟ ถ้าเครื่องดับแล้วต้องมาเล่นใหม่ก็ทำให้หัวเสียได้ไม่น้อย
ที่มา: Game Boy ไร้แบต เล่นได้แม้อารยธรรมมนุษย์ล่มสลาย
หนึ่งในนักวิทย์ศาสตร์ผู้ร่วมพัฒนาเครื่อง Engage นามว่า Josiah Hester ได้กล่าวติดตลกไว้ว่า หากอารยธรรมมนุษย์ล่มสลายแล้วเอเลี่ยนค้นพบเครื่องนี้ เอเลี่ยนตัวนั้นก็จะสามารถเล่นเกมต่อได้เลยแบบไม่ติดขัด
ข้อเสียของเครื่อง Engage คือไม่มีเสียง เพราะการผลิตเสียงจะใช้พลังงานมากเกินกว่าเทคโนโลยีปัจจุบันจะรันได้แบบไร้ถ่าน
ท้ายที่สุดแล้ว ทีมงานเครื่องต้นแบบ Engage นี้ หวังว่าเทคโนโลยีของพวกเขาจะเป็นแรงบรรดาลใจให้บริษัททั้งหลายหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและไม่ใช้แบตเตอรี่ Lithium อย่างฟุ้มเฟือย